บทที่ 7กฎหมายในชีวิตประจําวัน
บัตรประจำตัวประชาชน กฎหมายกำหนดว่า ผู้ที่จะมีบัตรประจำตัวประชาชนได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
๑) เป็นบุคคลที่มีสัญชาติไทย
๒) มีอายุ ๑๕ ปี บริบูรณ์ขึ้นไป จนถึงอายุ ๗๐ ปี บริบูรณ์
๓) มีภูมิลำเนาหรือชื่อในทะเบียนบ้านในท้องที่ที่ไปยื่นคำร้องขอมีบัตร
๒. กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษา
ตามพระราชบัญญัติการ ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๒ กำหนดว่า
๑) บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกัน ในการได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ไม่น้อยกว่า ๑๒ ปี ที่รัฐต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
๒) บุคคลซึ่งมีความบกพร่องทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา
สังคมการสื่อสารและการเรียนรู้ หรือร่างกายพิการทุพพลภาพ
หรือบุคคลไม่สามารถพึ่งตนเองได้ หรือไม่มีผู้ดูแล หรือผู้ด้อยโอกาส
จะมีสิทธิและมีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
และมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกและความช่วยเหลือทางการศึกษาตามกฎหมาย
๓. กฎหมายทะเบียนราษฎร์
๑) การแจ้งเกิด เจ้าบ้านจะต้องแจ้งต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีคนเกิดภายใน ๑๕ วัน
นับแต่วันเกิด เมื่อนายทะเบียนรับแจ้งการเกิดไว้แล้วก็จะอำ ใบแจ้งการเกิด หรือสูติบัตร
ให้แก่ผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน
๒) การแจ้งตาย เจ้าบ้านจะต้องแจ้งแก่นายทะเบียนท้องถิ่นภายใน ๒๔ ชั่วโมง หรือ ๑ วัน นับแต่เวลาตาย
๔. กฎหมายจราจรทางบก เป็นกฎหมาย ที่ควบคุมการใช้รถ ใช้ถนน ให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
๑) การปฏิบัติตามกฎจราจรของผู้ขับขี่รถจักรยาน
(๑) ขับขี่รถจักรยานในทางที่จัดทำไว้สำหรับรถจักรยาน
(๒) รถจักรยานที่ใช้ขับขี่ต้องมีกระดิ่งให้สัญญาณ เครื่องห้ามล้อ โคมไฟติดหน้ารถ
(๓) ผู้ขับขี่รถจักรยานต้องขับให้ชิดขอบทางด้านซ้ายของทางเดินรถหรือไหล่ทาง
(๔) ไม่ขับขี่รถจักรยานโดยประมาทเป็นที่หวาดเสียว หรือขับขี่โดยไม่จับคันบังคับ
๒) การปฏิบัติตามกฎจราจรของคนเดินเท้า
(๑) ให้คนเดินเท้าบนทางเท้าหรือไหล่ทางที่มี
(๒) ห้ามไม่ให้คนเดินเท้าข้ามถนนนอกทางม้าลาย ภายในระยะไม่เกิน ๑๐๐ เมตร
(๓) ให้คนเดินเท้าที่ต้องการข้ามถนนปฏิบัติตามไฟสัญญาณจราจร
(๔) ห้ามไม่ให้ผู้ใดเดินแถวหรือเดินเป็นขบวนแห่ในลักษณะกีดขวางจราจร
ยกเว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานจราจร อ่านเพิ่มเติมhttp://singkle.blogspot.com/p/blog-page_6535.html
บทที่ 6 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย
กฎหมายอื่นใดจะขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้
รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายว่าด้วยการจัดระเบียบการปกครองของประเทศ
ซึ่งตั้งแต่ พ.ศ. 2475ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญแล้วทั้งสิ้น 19 ฉบับ
อันแสดงให้เห็นถึงความขาดเสถียรภาพทางการเมืองของประเทศ
รัฐธรรมนูญไทยระบุว่าประเทศไทยมีรูปแบบรัฐเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ
รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับกำหนดให้ผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้ง
และการแต่งตั้งแตกต่างกันไป เช่นเดียวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรหลักที่ทำหน้าที่ตีความรัฐธรรมนูญและวินิจฉัย
ข้อขัดแย้งข้อพิพาทที่เกี่ยวข้องกับรัฐธรรมนูญ
บทที่ 5 ระบอบการเมืองการปกครอง
สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน
มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง
ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ
คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
1. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ
สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้
การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
2. สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เกิดจาก
1. มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตัวเอง
2. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
3. มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดมาเป็นมนุษย์
4. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน
3. หลักการสำคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้
และกำหนดให้รัฐบาลส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจ
หน้าที่โดยคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน
4. การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
1. สังคมไทยเป็นสังคมที่ต่างเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
จนกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นไทยโดยไม่มีการแตกแยก ยอมรับความหลากหลาย
มีจิตใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จึงไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องการแบ่งชนชั้น หรือเผ่าพันธุ์
แต่การละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังปรากฏอย่างต่อเนื่อง เช่น การละเมิดสิทธิเด็ก
เช่น การละเมิดทางเพศ แรงงาน ยาเสพติด อบายมุข ความรุนแรงในการลงโทษ การละเมิดสิทธิสตรี
ในสังคมไทยยังปรากฏการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในครองครัว ความรุนแรงทางเพศในที่สาธารณะ
ที่บ้าน ที่ทำงาน สถานกักกัน การล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต โรงภาพยนตร์ บนรถเมล์
2. การเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
บุคคลควรมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน สังคมไทยต่อไปนี้
1. ศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่พัฒนาความรู้ ทักษะ ค่านิยมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
2. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของตนเอง บุคลิกภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่
3. มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชาติบ้านเมืองอย่างมีอิสรเสรีภาพ
4. ใช้สิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมให้มีประสิทธิภาพ
5. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
บทที่ 4 สิทธิมนุษยชน
สิทธิมนุษยชน (Human Right) หมายถึง สิทธิที่มนุษย์ทุกคนมีความเท่าเทียมกัน
มีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคลที่ได้รับการรับรอง
ทั้งความคิดและการกระทำที่ไม่มีการล่วงละเมิดได้ โดยได้รับการ คุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และสนธิสัญญาระหว่างประเทศ
1. ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ (Human Dignity) หมายถึง คุณสมบัติ จิตใจ
สิทธิเฉพาะตัวที่พึงสงวนของมนุษย์ทุกคน และรักษาไว้มิให้บุคคลอื่นมาล่วงละเมิดได้
การถูกละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์จึงเป็นสิ่งที่ต้องได้รับการคุ้มครองและได้รับความยุติธรรมจากรัฐ
2. สาเหตุที่มนุษย์ต้องได้รับความคุ้มครองสิทธิมนุษยชน เกิดจาก
1. มนุษย์ทุกคนเกิดมาแล้วย่อมมีสิทธิในตัวเอง
2. มนุษย์เป็นสัตว์สังคม
3. มนุษย์มีเกียรติภูมิที่เกิดมาเป็นมนุษย์
4. มนุษย์ทุกคนเกิดมามีฐานะไม่เท่าเทียมกัน
3. หลักการสำคัญที่สุดของสิทธิมนุษยชน คือ มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์เท่าเทียมกัน
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ได้รับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไว้
และกำหนดให้รัฐบาล ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐดำเนินการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่โดย
คำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของประชาชนทุกคน
4. การคุ้มครองสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
1. สังคมไทยเป็นสังคมที่ต่างเชื้อชาติ ศาสนา เผ่าพันธุ์ สามารถดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างสันติ
จนกลมกลืนเป็นหนึ่งเดียวในความเป็นไทยโดยไม่มีการแตกแยก ยอมรับความหลากหลาย
มีจิตใจเอื้อเฟื้อเกื้อกูลกัน จึง
ไม่มีการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเรื่องการแบ่งชนชั้น หรือเผ่าพันธุ์
แต่การละเมิดสิทธิมนุษยชนก็ยังปรากฏอย่างต่อเนื่อง เช่น การละเมิดสิทธิเด็ก
เช่น การละเมิดทางเพศ แรงงาน ยาเสพติด อบายมุข ความรุนแรงในการลงโทษ การละเมิดสิทธิสตรี
ในสังคมไทยยังปรากฏการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงในครองครัว
ความรุนแรงทางเพศในที่สาธารณะ ที่บ้าน ที่ทำงาน สถานกักกัน
การล่อลวงทางอินเตอร์เน็ต โรงภาพยนตร์ บนรถเมล์
2. การเข้ามามีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน บุคคลควรมีส่วนร่วมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนใน
สังคมไทยต่อไปนี้
1. ศึกษาเรื่องสิทธิมนุษยชนในสังคมไทยที่พัฒนาความรู้ ทักษะ ค่านิยมในการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน
2. ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของตนเอง บุคลิกภาพและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเต็มที่
3. มีส่วนร่วมในกิจกรรมของชาติบ้านเมืองอย่างมีอิสรเสรีภาพ
4. ใช้สิทธิทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมให้มีประสิทธิภาพ
5. ศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับองค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
บทที่3 พลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลก
1.การเคารพกฎหมายและกติกาสังคม
2.การเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและบุคลอื่น
3.การมีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
4.การมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน ประเทศชาติและสังคมโลก
5.การเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองการปกครอง
6.การมีส่วนร่วมในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ สังคม การเมืองการปกครอง และสิ่งแวดล้อม
7.การมีคุณธรรมจริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต
แนวคิดหลัก คุณลักษณะพลเมืองดีของประเทศชาติและสังคมโลกที่สำคัญคือ
การเคารพกฎหมายและกติกาสังคม การเคารพสิทธิเสรีภาพของตนเองและบุคคลอื่น มีเหตุผล
รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความรับผิดชอบต่อตนเอง และสิ่งแวดล้อม รวมถึงการมีคุณธรรม
จริยธรรมเป็นหลักในการดำเนินชีวิต หากประเทศชาติและสังคมโลกของเรา มีพลเมืองที่ดีมี
คุณลักษณะเช่นนี้ ก็จะก่อให้เกิดความสงบสุข
· การเคารพกฎหมายและกติกาสังคม
ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 ได้นิยามความหมายของกฎหมายไว้ว่า กฎหมายคือ
กฎที่สถาบันหรือผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐตราขึ้นหรือเกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ
เพื่อใช้ในการบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตามหรือหรือเพื่อกำหนดระเบียบ
แห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือระหว่างบุคคลกับรัฐ
กฎหมายเป็นข้อบังคับที่รัฐหนึ่งๆ ตราขึ้นมาเพื่อใช้กำหนดความประพฤติและระเบียบแบบแผนของพลเมือง
ที่อยู่ร่วมกันภายในรัฐนั้นและรวมไปถึงบังคับที่รัฐแต่ละรัฐผูกพันต้องปฏิบัติตามพันธกรณีและความร่วมมือ
ที่ให้ไว้ระหว่างกัน เนื่องจากสังคมมีความซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วกว่าในอดีตมาก
การควบคุมดูแลโดยบุคคลหรือกลุ่มบุคคลจึงไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ดังนั้นการมีกฎหมายขึ้นมาเพื่อช่วยในการกำหนดการปฏิบัติจึงมีความจำเป็นสำหรับสังคมทุกระดับ
กฎหมายจึงมีความสำคัญในการควบคุมพฤติกรรมของบุคคลให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม
บทที่ 2 วัฒนธรรมไทย
วัฒนธรรมแห่งชาติของไทยเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งสิ่งที่ปัจจุบันถือเป็นวัฒนธรรม
ไทยเดิมไม่มีอยู่ในรูปแบบนั้นเมื่อกว่าร้อยปีก่อน บ่อเกิดสามารถสืบย้อนไปได้ถึง
รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมัยสงครามโลกครั้งที่สองf(x)
หลวงพิบูลสงครามสนับสนุนการส่งเสริมวัฒนธรรมไทยกลางเป็นวัฒนธรรมแห่ง
ชาตินิยามและยับยั้งมิให้ชนกลุ่มน้อยแสดงออกซึ่งวัฒนธรรมของตน วัฒนธรรมพลเมืองรุ่นปัจจุบันซึ่งส่วนใหญ่ยึดรุ่นอุด
มคติของวัฒนธรรมไทยกลางเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ซึ่งรวมลักษณะชาติ
นิยมสมัยรัชกาลที่ 5 ราชย์กัมพูชา และลัทธิอิงสามัญชนที่นิยมบุคคลลักษณะ หรือสรุปคือ วัฒนธรรมพลเมืองของไทยปัจ
จุบันนิยามว่าประเทศไทยเป็นดินแดนของคนไทยกลาง มีศาสนาเดียวคือ พุทธนิกายเถรวาท และปกครองโดยราชวงศ์จักรี[1]
และดีที่สุดที่ทำได้คือ การสะสมบุญผ่านการปฏิบัติที่เป็นพิธีกรรมอย่างสูง เช่น
การถวายอาหารพระสงฆ์และการบริจาคเงินเข้าวัด คำสอนทางศาสนาถูกเลือกให้สนับสนุนมุมมองทางโลกแบบ
ศาสนาขงจื๊อใหม่ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่สามเสาหลัก ศาสนาพุทธ
ของไทยยังรวมการบูชาวิญญาณของกัมพูชาและความเชื่อว่าพร
คนไทยเน้นและให้คุณค่ารูปแบบมารยาทภายนอกอย่างยิ่งเพื่
อรักษาความสัมพันธ์ประสานกัน กฎมารยาทหลายอย่างเป็นผล
พลอยได้ของศาสนาพุทธ สังคมไทยเป็นสังคมไม่เผชิญหน้าที่เลี่ยงก
ารวิจารณ์ในที่สาธารณะ การเสียหน้าเป็นความเสื่อมเสียแก่คนไทย จึง
เลี่ยงการเผชิญหน้าและมุ่งประนีประนอมในสถานการณ์ลำบาก
ะแสดงความเคารพของผู้น้อยต่อผู้ใหญ่ตามประเพณีและมีแบบพิธีเข้มงวด
คนไทยเคารพความสัมพันธ์แบบมีลำดับชั้น ความสัมพันธ์ทางสังคมนิยามว่า
บุคคลหนึ่งสูงกว่าอีกคนหนึ่ง บิดามารดาสูงกว่าบุตรธิดา ครูอาจารย์สูงกว่านักเรียนนักศึกษา
และเจ้านายสูงกว่าผู้ใต้บังคับบัญชา เมื่อคนไทยพบคนแปลกหน้า
จะพยายามจัดให้อยู่ในลำดับชั้นทันทีเพื่อให้ทราบว่าควรปฏิบัติด้วยอย่างไร
มักโดยการถามสิ่งที่วัฒนธรรมอื่นมองว่าเป็นคำถามส่วนตัวอย่างยิ่ง
สถานภาพกำหนดได้โดยเสื้อผ้า ลักษณะปรากฏทั่วไป อายุ อาชีพ การศึกษา นามสกุลและความเชื่อมโยงทางสังคม[2]
บทที่ 1สังคมมนุษย์
1.บรรทัดฐานทางสังคม คือ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อบังคับ ในการปฏิบัติซึ่งเป็นสิ่งที่สังคมยอมรับ
1.1 วิถีประชาหรือวิถีชาวบ้าน คือ แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกปฏิบัติด้วยความเคยชิน
1.2 จารีต คือ แบบแผนความประพฤติที่สมาชิกประพฤติปฏิบัติอย่างเคร่งครัด
1.3 กฎหมาย คือ กฎเกณฑ์หรือข้อบังคับที่รัฐบัญญัติขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร
2.สถานภาพ คือ ตำแหน่งของบุคคลที่สังคมกำหนดขึ้น
ลักษณะของสถานภาพ
1) เป็นสิ่งเฉพาะบุคคลที่ทำให้แตกต่างไปจากผู้อื่น
2) บุคคลหนึ่งอาจมีหลายสถานภาพ
3) เป็นสิทธิและหน้าที่ทั้งหมดที่บุคคลมีอยู่ในการติดต่อกับผู้อื่น
4) เป็นตัวกำหนดว่าบุคคลนั้นมีหน้าที่และความรับผิดชอบ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น